การเหยียบเบรกแช่ไว้ขณะรถติดเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง…จริงหรือ? แล้วควรทำอย่างไร
รถติดไม่เบรกแช่
เสี่ยงเบรกพัง ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
เชื่อว่าหลายๆ คนต้องเคยเจอกับปัญหารถติดนานๆ รถแน่นเป็นจำนวนมาก จนต้องคอยหวาดระแวงว่าจะมีรถคันหน้าหรือคันหลังถอยหรือพุ่งมาชนหรือเปล่า หรือถ้าเราจอดอยู่เฉยๆ แล้ว ต้องทำอย่างไรให้รถนิ่ง ไม่ไปชนรถคันอื่นจนเสียหาย ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าการเหยียบเบรกนั่นคือสิ่งที่ถูกต้อง แต่คุณกำลังเข้าใจผิดครับ
พฤติกรรม การเหยียบเบรกแช่ไว้ เป็นสิ่งที่ควรทำหรือไม่
เชื่อว่าหลายๆ คนต้องเคยเจอกับปัญหารถติดนานๆ รถแน่นเป็นจำนวนมาก จนต้องคอยหวาดระแวงว่าจะมีรถคันหน้าหรือคันหลังถอยหรือพุ่งมาชนหรือเปล่า หรือถ้าเราจอดอยู่เฉยๆ แล้ว ต้องทำอย่างไรให้รถนิ่ง ไม่ไปชนรถคันอื่นจนเสียหาย ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าการเหยียบเบรกนั่นคือสิ่งที่ถูกต้อง แต่คุณกำลังเข้าใจผิดครับ
รถติดบนท้องถนนนาน ๆ ทำให้เราต้องนั่งแหงกบนรถอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งการจราจรเป็นแบบเคลื่อนไหวสลับหยุดนิ่ง การเหยียบคันเร่งสลับเหยียบเบรกก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน สถานการณ์แบบนี้จะทำให้การระบายอากาศของเครื่องยนต์รถย่ำแย่ และการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ จนเกิดของเหลือจากการเผาไหม้ ยิ่งรถติดแช่นานๆ ของเหลือจากการเผาไหม้ก็ยิ่งมีมากขึ้น ทำให้เข้าไปอุดตันหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงและขัดขวางการทำงานของห้องเผาไหม้เครื่องยนต์ โดยคุณสามารถสังเกตได้จากอาการเสียงดังครืดๆๆ ที่มาจากตัวเครื่องครับ
สำหรับวิธีแก้ไขคือ พยายาหลีกเลี่ยงการขับรถในชั่วโมงรถติด หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้พยายามทำความสะอาดหัวฉีดน้ำมันทุกๆ 5,000 กิโลเมตร หรือให้หันมาใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทนเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยลดเสียงดังจากเครื่องยนต์ แต่ข้อควรจำก็คือการเปลี่ยนมาใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทนมากขึ้นไม่สามารถกำจัดของเหลือจากการเผาไหม้ให้หมดได้
และที่สำคัญเวลารถติดนานๆ ไม่ควรเหยียบเบรกแช่งทิ้งไว้ เพราะจะทำให้อุณหภูมิของจานเบรกและผ้าเบรกที่สูงอยู่แล้วจากการขับขี่นั้นไม่สามารถระบายหรือลดลงได้ ทำให้ประสิทธิภาพในการเบรกลดลงหรืออาจทำให้จานเบรกหรือผ้าเบรกเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ เช่น จานเบรกบิดเบี้ยวเป็นผลทำให้เบรกสั่น ผิวหน้าของผ้าเบรกด้านเนื้อผ้าเบรกแข็ง หรือกิ๊บล็อค (ตัวรองผ้าเบรกไม่ให้ดิ้นขณะเบรก) เกิดการล้าตัวจากความร้อนสูง แนะนำว่าหากอยู่ในการจราจรที่ติดขัดต้องจอดเป็นเวลามากกว่า 1-2 นาที ให้เข้าเกียร์ในตำแหน่ง N และดึงเบรกมือ แล้วยกเท้าออกจากแป้นเบรกเพื่อให้ผ้าเบรกเลื่อนตัวออกจากจานเบรกก็สามารถระบายความร้อนได้ครับ
ข้อแนะนำสำหรับการปกป้องเครื่องยนต์และเบรกรถของคุณให้อยู่นานๆ คือ ลดความเร็วในการขับขี่ลงและเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าในระดับที่เหมาะสม ป้องกันไม่ให้เกิดการเบรกกะทันหัน แม้การเหยียบเบรกสลับกับการคันเร่งยนต์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่การป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ครับ
เรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ
- เติมน้ำมันแบบไหน ประหยัด และคุ้มกว่ากัน
- ถอด ล้วง ทะลวง ไส้แคต ทำให้เครื่องยนต์แรงขึ้นจริงหรือไม่??
- สัญญานเตือนก่อนโช๊คอัพพัง
- อาการแผงคอยล์ร้อนอุดตัน
- คุยกับช่างเค คลิก
- คุยกับเราได้ที่ https://www.facebook.com/toyotakmotors