รถกินน้ำมันผิดปกติ เกิดจากอะไร แก้ไขเองได้หรือไม่?
สิ้นเปลือง
ขับขี่อย่างไรให้ประหยัดน้ำมัน…
รถกินน้ำมันผิดปกติ เกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่ยากต่อการตรวจสอบและแก้ไขจะต้องให้ช่างผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ แต่บางอาการเราก็สามารถสังเกตได้เอง เช่น…
รถกินน้ำมัน ผิดปกติ เกิดจากอะไร แก้ไขเองได้หรือไม่
1.ลมยางอ่อน ลมยางที่ต่ำกว่ามาตรฐานจะทำให้เกิดแรงต้านแรงขับเคลื่อน ยิ่งแรงดันลมต่ำมากก็ยิ่งทำให้กินน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มมากขึ้น วิธีแก้ คือ เติมลมให้อยู่ในค่ามาตรฐานที่กำหนดเสมอ โดยดูจากคู่มือการใช้รถหรือดูได้จากสติ๊กเกอร์ที่เสาประตูด้านคนขับ
2.กรองอากาศอุดตัน อากาศที่เข้าสู่เครื่องยนต์ได้ไม่เพียงพอจะส่งผลให้กำลังของเครื่องยนต์ลดลงและส่งผลต่อการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง การแก้ไข คือ ถอดกรองอากาศออกมาเป่าทำความสะอาด โดยการเป่าย้อนทิศทางการไหลของอากาศ
3.พฤติกรรมการขับขี่ ถ้าชอบขับออกตัวเร็วๆ ลากรอบสูงๆ หรือขับรถด้วยความเร็วสูงๆ ล้วนทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง การแก้ทำได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่ ค่อยๆออกตัวใช้รอบเครื่องให้เหมาะสมและใช้ความเร็วตามกฏหมายกำหนด
เติมลมยางรถยนต์ให้ได้ค่ามาตรฐาน ช่วยให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น
- หากเติมลมยาง มากเกินไป บริเวณของกึ่งกลางของหน้ายางจะสึกหรอได้ง่าย การรับแรงและการยืดหยุ่นด้อยลง เมื่อมีการรับน้ำหนักหรือการกระแทก ก็อาจทำให้เกิดการระเบิดของยางได้ง่าย และการทรงตัวและการเกาะถนน ไม่ดีเท่าที่ควร
- หากเติมลมยาง น้อยเกินไป บริเวณไหล่ยาง จะสึกเร็วกว่าปกติ แก้มยางทำงานหนัก สึกหรอได้ง่าย การหมุนหรือบังคับ พวงมาลัย ได้ยากขึ้น การทรงตังของรถในขณะขับขี่ด้อยลง
ค่ามาตรฐานในการเติมลมยางรถยนต์
- รถเก๋ง ประมาณ 28-35 PSI (ปอนด์/ตารางนิ้ว)
- รถSUV ประมาณ 30-35 PSI (ปอนด์/ตารางนิ้ว)
- รถกระบะ บรรทุก ประมาณ 45-55 PSI หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับน้ำหนักบรรทุก แต่ไม่ควรเกิน 65 PSI (ปอนด์ / ตารางนิ้ว)
ขับขี่อย่างไรให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น
1.ไม่เหยียบเบรกกะทันหัน
2. ใช้ความเร็วคงที่หรือประมาณ 60-90 กิโลเมตร/ชั่วโมง
3. ตรวจเช็กเครื่องยนต์เป็นประจำ
4. เช็กลมยางให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
5. ไม่บรรทุกหนักจนเกินไป
6. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามกำหนด
เรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ
- เลือกดอกยางรถยนต์ยังไงให้เหมาะสม
- ถอด ล้วง ทะลวง ไส้แคต ทำให้เครื่องยนต์แรงขึ้นจริงหรือไม่??
- สัญญานเตือนก่อนโช๊คอัพพัง
- อาการแผงคอยล์ร้อนอุดตัน
- คุยกับช่างเค คลิก
- คุยกับเราได้ที่ https://www.facebook.com/toyotakmotors