รถไม่ค่อยวิ่ง ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตอนไหนดี ?
ใช้งานน้อย
เปลี่ยนตอนไหนดูแลรักษาอย่างไร…
น้ำมันเครื่องทำหน้าที่หลักๆ คือ หล่อลื่นชิ้นส่วน , ระบายความร้อนให้กับเครื่องยนต์ , ชะล้างทำความสะอาด ,ป้องกันสนิมและการกัดกร่อน ,รักษากำลังอัด โดยปกติอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องจะขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันเครื่องซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดคือ
รถไม่ค่อยวิ่ง
1 . น้ำมันเครื่องธรรมดา (Symthetic) อายุการใช้งาน 3,000-5,000 กิโลเมตร
2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic )อายุการใช้งาน 5,000 – 10,000 กิโลเมตร
3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ( Fully Synthetic ) อายุการใช้งาน 15,000 – 20,000 กิโลเมตร
ในส่วนที่รถใช้งานน้อยไม่ค่อยได้วิ่ง แต่เมื่อน้ำมันเครื่องได้มีการผ่านการใช้งานแล้ว น้ำมันเครื่องก็จะมีการเสื่อมสภาพไปตามระยะเวลา ดังนั้นจึงควรทำการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องหลังจากมีการเปลี่ยนไปแล้วทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้น้ำมันเครื่องยังคงมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพเอาไว้ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอครับ
วิธีการดูแล รถไม่ค่อยวิ่ง
1. ดูแลแบตเตอรี่ หากไม่ค่อยได้ใช้รถยนต์ แนะนำให้มีการสตาร์ตเครื่องยนต์ไว้ 10 นาที หรือมากกว่า อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือหากทำได้ทุกวันจะช่วยยืดอายุแบตเตอรี่ได้ (สตาร์ตอยู่กับที่เฉยๆ )
2. ตรวจสอบของเหลวในรถยนต์ หากไม่ได้ใช้งานรถยนต์นานๆ ให้หมั่นตรวจเช็กของเหลวต่างๆ ในรถ เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำในหม้อน้ำ เพื่อหล่อเลี้ยงชิ้นส่วนต่างๆ ไม่ให้เกิดสนิม
โดยทั่วไปการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องจะเปลี่ยนตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนด คือ ทุก 5,000 กิโลเมตร หรือ 10,000 กิโลเมตร แต่สำหรับคนที่ใช้รถน้อยๆ หากอ้างอิงตามระยะทางในระยะเวลาปีหนึ่งอาจจะไม่ได้ถ่ายน้ำมันเครื่องเลย ดังนั้นต้องอ้างอิงตามระยะเวลา โดยเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุกๆ 6 เดือน หรือตามที่คู่มือกำหนด อย่าปล่อยให้น้ำมันเครื่องหมดอายุ เพราะจะส่งผลทำให้เครื่องยนต์สึกหรอได้
3. เช็กลมยาง / ยางรถยนต์
หากต้องจอดรถไว้เป็นระยะเวลานานๆ แนะนำให้เติมลมยางมากกว่าปกติประมาณ 5-10 ปอนด์/ตารางนิ้ว หรือแนะนำให้นำรถไปขับเคลื่อนที่ เพื่อให้ยางได้หมุนบ้าง เพราะการจอดรถอยู่กับที่นานๆ เช่น มากกว่า 1 เดือนขึ้นไป จะทำให้เกิดอาการยางไม่คืนตัว โดยเกิดการยุบตัวของโครงยางส่วนหน้า ที่สัมผัสกับพื้นได้ เนื่องจากน้ำหนักของตัวรถยนต์ทั้งหมด จะตกสู่ยางแต่ละเส้นในจุดเดียว ทำให้โครงยางเสียรูป ไม่กลม เมื่อนำรถยนต์ไปขับขี่ภายหลัง อาจทำให้เกิดอาการสั่นเต้นและเกิดเสียงดังผิดปกติได้ หากเป็นไปได้วิธีที่ดีที่สุดในกรณีที่ต้องจอดรถทิ้งไว้นานเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไปนั้นขอแนะนำให้ยกรถตั้งบนแท่นวางทั้ง 4 ล้อ ซึ่งทำให้น้ำหนักรถไม่กดทับลงบนยาง เป็นการรักษารูปร่างของยางได้ดีที่สุด
4. สตาร์ตเครื่องยนต์ เอารถออกไปขับบ้าง
การสตาร์ตเครื่องยนต์ และการนำรถไปขับบ้างจะทำให้เครื่องยนต์ทำงานและชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ เพราะเนื่องจากในรถยนต์นั้นมีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เป็นจุดหมุน เช่น ระบบช่วงล่าง ลูกหมากต่างๆ แม้กระทั่งยางและล้อ หากปล่อยให้อยู่กับที่นานๆ ไม่มีการขยับตัวก็อาจเกิดอาการเส้นยึดได้ ทำให้เกิดการสึกหรอได้ง่ายกว่ารถที่ใช้งานประจำ
5. ทำความสะอาดรถ การจอดรถทิ้งไว้นานๆ จะทำให้ฝุ่น หรือสิ่งสกปรกต่างๆ มาเกาะที่รถ ส่งผลทำให้เกิด สีหม่น ซีดจาง รอย หรือการขีดข่วนต่างๆ ได้ ฉะนั้นควรทำความสะอาดรถ แล้วคลุมผ้าคลุมรถเพื่อป้องกันฝุ่น และรักษาสีของรถยนต์ให้ดูเหมือนใหม่
6. สถานที่จอดรถต้องเหมาะสม ควรจอดในร่ม และควรเลี่ยงการจอดในที่เปียกชื้น ใต้ต้นไม้ หรือใกล้ๆ ถังขยะ เพราะทำให้มีหนูหรือแมลงเข้ามาในรถได้ หรือกิ่งไม้หล่นลงบนรถจรกลายเป็นรอยขีดข่วน เป็นต้น
เรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ
- แบตเตอรี่ Smart Key หมด ทำอย่างไร
- สัญลักษณ์สามเหลี่ยม บนแก้มยางมีประโยชน์อย่างไร
- ความรู้เกี่ยวกับรถยนต์เรื่องอื่นๆ
- คุยกับช่างเค คลิก
- คุยกับเราได้ที่ https://www.facebook.com/toyotakmotors