การรันอิน คืออะไร? มีผลอย่างไรกับรถยนต์…
ออก(รถ)ใหม่
ปรับสภาพรถใหม่ให้เหมาะกับการใช้งาน…
การรันอิน คือการปรับสภาพส่วนต่างๆ ของรถใหม่ที่เพิ่งออกมาจากโรงงานให้เหมาะกับการใช้งาน ข้อแนะนำสำหรับการขับรันอิน เมื่อครบระยะ 1,000 กิโลเมตร ให้ตรวจสอบน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ ตรวจเช็กระดับน้ำมันเบรกทุกสัปดาห์ อย่าเข้าเกียร์ว่างขณะที่รถกำลังเคลื่อนที่
การรันอิน คือการปรับสภาพส่วนต่างๆ ของรถใหม่ที่เพิ่งออกมาจากโรงงานให้เหมาะกับการใช้งาน ข้อแนะนำสำหรับการขับรันอิน เมื่อครบระยะ 1,000 กิโลเมตร
การรันอิน ที่ทำให้รถยนต์มีประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ควรหมุนพวงมาลัยรถขณะที่รถอยู่กับที่ ตรวจลมยางทุก 2 สัปดาห์ และอย่าสตาร์ทเครื่องซ้ำขณะเครื่องยนต์กำลังทำงาน
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับ “การรันอิน” ทั่วไป
** รอบสูงไม่เกิน 4000 รอบ/นาที
** ความเร็วสูงไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
** อย่าขับรถแช่หรือทำความเร็วคงที่นานเกินไป ให้เปลี่ยนระดับความเร็วเสมอ
** อย่าออกตัวรถแรง
** ไม่ควรเบรกกะทันหัน และเหยียบเบรกแรง
** เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เมื่อครบระยะ 1,000 กิโลเมตร เช่น น้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองทิ้งท้าย เพื่อขจัดสิ่งสกปรกที่กระจายปะปนอยู่ในน้ำมันออก
นอกจากการขับรันอินแล้ว สำหรับใครที่ต้องการทำรันอินระบบเครื่องยนต์อื่นๆ ต้องทำอย่างไร เช็กอะไรบ้าง มาดูกันครับ
ระบบเบรก
การทำรันอินระบบเบรก ควรหมั่นตรวจสอบระดับน้ำมันเบรกเป็นประจำทุกสับดาห์ และควรใช้เบรกมือบ่อยๆ หากจะทำการปลดเบรกมือให้ดึงให้สุดก่อนออกตัวรถ พร้อมกดปุ่มที่ปลายเพื่อป้องกันการเสื่อมชำรุด แต่ถ้าต้องเบรกติดต่อกันบ่อยๆ หรือในทุกๆ 10 วินาที ควรยกเท้าจากเบรก 1 วินาที ในกรีณีที่ขับรถลงเขาแนะนำให้เปลี่ยนไปใช้เกียร์ต่ำแทน
ระบบเกียร์อัตโนมัติ
ไม่แนะนำให้เข้าเกียร์ว่าง ขณะที่รถกำลังเคลื่อนตัว เวลาเปลี่ยนเกียร์ว่างเป็นเดินหน้าหรือถอย ให้เหยียบเบรกจนรถหยุดสนิท จากนั้นจึงค่อยๆ เร่งเครื่อง
ระบบเฟืองท้ายและเกียร์ธรรมดา
ไม่ควรเติมหัวเชื้อน้ำมันต่างๆ ลงไปในห้องเกียร์ ถ้าระยะทางยังไม่เกิน1,000 กม.
ระบบคลัช
ห้ามใช้คลัชแทนเบรกเพื่อชะลอรถ ยกเว้นตอนที่ขับรถลงจากเนินสูง และควรยกเท้าออกจากคลัชตอนไม่ใช้งาน แนะนำให้ใช้เกียร์ว่างแทนการเหยียบคลัชแช่
ระบบพวงมาลัย
อย่าหมุนพวงมาลัยรถในขณะที่รถอยู่กับที่
ระบบกันสะเทือน
คอยตรวจลมยางทุก 2 สัปดาห์ และไม่ควรขับรถบนทางขรุขระด้วยความเร็วสูงเกิน 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ระบบไฟฟ้า
**ไม่ควรสตาร์ทเครื่องซ้ำในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน
**หมั่นเช็กระดับน้ำกลั่นแบตเตอร์รี่เป็นประจำทุกสัปดาห์
**ห้ามเติมน้ำกลั่นเกินขีดที่รถยนต์กำหนด
**ควรตรวจสอบการทำงานของเกจวัด ไฟเตือน และระบบไฟฟ้าต่างๆ ของรถเป็นประจำ
เรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ
- เติมน้ำมันแบบไหน ประหยัด และคุ้มกว่ากัน
- ฝาหม้อน้ำสำคัญแค่ไหน
- สัญญานเตือนก่อนโช๊คอัพพัง
- อาการแผงคอยล์ร้อนอุดตัน
- คุยกับช่างเค คลิก
- คุยกับเราได้ที่ https://www.facebook.com/toyotakmotors