อัพเดท : 26 กรกฎาคม 2567

วิธีขับรถเกียร์ออโต้ 1 เท้า ที่ถูกวิธี

ปลอดภัย

ใช้ถูกวิธี ขับขี่ปลอดภัยทุกเส้นทาง…
ในปัจจุบันจำนวนรถเกียร์อัตโนมัติมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากให้ความสะดวกสบายในการขับขี่รวมทั้งเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้อัตราการสิ้นเปลืองระหว่างรถเกียร์อัตโนมัติกับเกียร์ธรรมดาแทบจะไม่แตกต่างกันเหมือนแต่ก่อน ที่เกียร์อัตโนมัติจะมีการกินน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าเกียร์ธรรมดา

        โดยจะเห็นได้ว่าเกียร์อัตโนมัติจะมีอยู่ในรถทุกรุ่นไม่ว่าจะเป็นรถเก๋งหรือรถกระบะ ซึ่งต่างจากในอดีตที่ส่วนใหญ่จะมีแต่ในรถเก๋งเท่านั้น ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้ วิธีขับรถเกียร์ออโต้ เราไปดูกันก่อนว่าเกียร์ออโต้หรือเกียร์อัตโนมัติทำงานยังไงกันบ้างครับ


เกียร์อัตโนมัติถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ขับขี่ โดยไม่ต้องคอยมาเหยียบคลัตช์ เพื่อคอยเปลี่ยนเกียร์เหมือนเกียร์ธรรมดา ระบบควบคุมการทำงานของเกียร์อัตโนมัติ จะใช้เซ็นเซอร์ในตรวจจับสัญญาณต่างๆ เช่น เซ็นเซอร์ตำแหน่งเกียร์/เซ็นเซอร์ความเร็วรถ/เซ็นเซอร์ความเร็วรอบของเครื่องยนต์/เซ็นเซอร์ตำแหน่งเกียร์/ เซ็นเซอร์แรงดันน้ำมันเกียร์/เซ็นเซอร์แพลารับเพลาส่งกำลัง/เซ็นเซอร์ตำแหน่งแป้นคันเร่งและอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ในการคำนวณก่อนที่จะส่งสัญญาณไปควบคุมให้ชุดกลไกเฟืองเกียร์ และชุดคลัตช์ของเกียร์ทำงานเปลี่ยนเกียร์ขึ้น ลง โดยอัตโนมัติ ให้เหมาะสมกับความเร็วรอบของเครื่องยนต์และความเร็วรถ ตามสภาวะการทำงานให้มากที่สุด ผู้ขับขี่มีหน้าที่เพียงเลือกตำแหน่งเกียร์เดินหน้าหรือถอยหลัง และมีหน้าที่เพียงเหยียบคันเร่งและคอยเหยียบเบรกเท่านั้น

 

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักอุปกรณ์ที่ผู้ขับขี่จะต้องใช้ควบคุมรถเกียร์อัตโนมัติกันครับ

1.คันเข้าเกียร์ ทำหน้าที่สำหรับเลื่อนเพื่อเลือกตำแหน่งเกียร์เมื่อต้องการใช้งาน

2.ตำแหน่งเกียร์ จะประกอบไปด้วย

– เกียร์ P (Parking) ใช้สำหรับจอดหรือสตาร์ตเครื่องยนต์
– เกียร์ R (Reverse) เกียร์ถอยหลัง
– N (Neutral) เกียร์ว่าง ใช้เมื่อต้องการจอดรถเพื่อให้สามารถเข็นได้
– D (Drive) หรือD4คือ เกียร์เดินหน้าที่ใช้ในการขับขี่ปกติ โดยเมื่อเปลี่ยนเกียร์มาที่ D แล้ว รถจะเริ่มออกตัว แล่นไปเองอย่างช้าๆ และเมื่อเหยียบคันเร่ง รถจะเริ่มเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติ โดยเริ่มจากเกียร์ 1 แล้วไปเกียร์ 2 แล้วไปเกียร์ 3 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 4 ขึ้นอยู่กับความเร็วของรถ , M (Manual) เกียร์เดินหน้าที่มีไว้สำหรับให้ผู้ขับขี่เปลี่ยนเกียร์เอง ให้อารมณ์เหมือนขับรถเกียร์ธรรมดา
– S (Sport) เกียร์ขับเดินหน้า ใช้สำหรับการขับขี่ที่ต้องการอัตราเร่งแซงทันใจ จะทำให้ลากรอบเครื่องยนต์ได้สูงขึ้นเร่งได้ทันใจ
– 2 หรือD2คือ ใช้งานในขณะที่ขับขี่รถยนต์ในเส้นทางที่มีความลาดชัน แต่ไม่สูงมาก และยังสามารถใช้ความเร็วได้พอสมควร
– L (Low) ใช้ในการขับรถขึ้น-ลง เส้นทางที่มีความลาดชันสูง และต้องใช้ความเร็วต่ำในการขับขี่ เมื่อลงเขาด้วยเกียร์ L จะเป็นการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก หรือ Engine Brake เพื่อลดการเหยียบเบรกบ่อยๆ จนทำให้เบรกร้อนเกินไปจนเบรกไม่อยู่ได้
และในรถเกียร์อัตโนมัติรุ่นใหม่ๆ B (Brake) เป็นเกียร์ที่ใช้เหมือนเกียร์ L ในรถที่มีเกียร์ B ก็จะไม่มีเกียร์ L ซึ่งใช้ทดแทนกัน

3. แป้นเบรก นอกจากใช้ชะลอรถหรือหยุดรถแล้ว ยังใช้เหยียบเพื่อปลดล็อก ให้สามารถเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำแหน่งเกียร์ P ไปตำแหน่งเกียร์ R ได้ ซึ่งจะมีชุดกลไกล็อกเอาไว้เพื่อความปลอดภัยไม่ให้เลื่อนคันเกียร์โดยไม่ได้ตั้งใจ . 4.แป้นคันเร่ง ทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณตำแหน่งแป้นคันเร่งส่งให้กับทาง ECU เพื่อนำไปเป็นสัญญาณในการควบคุมเกียร์อัตโนมัติเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ให้เหมาะสมตามสภาวะการเหยียบแป้นคันเร่ง

วิธีขับรถเกียร์ออโต้ 1 เท้า ที่ถูกวิธี คือ

– เหยียบเบรกทุกครั้งที่ทำการสตาร์ตเครื่องยนต์ใช้เท้าขวาเหยียบเบรกเมื่อต้องการสตาร์ตเครื่องยนต์ ส่วนเท้าซ้ายวางไว้ที่พักเท้าโดยให้ลืมไปเลยว่ามีเท้าซ้าย
– การขับเดินหน้าให้เหยียบเบรกแล้วเข้าเกียร์โดยเลื่อนคันเกียร์จากเกียร์ P ผ่าน R มาที่เกียร์ D,S,M เมื่อต้องการขับเดินหน้าจากนั้นค่อยๆ ปล่อยแป้นเบรก ให้รถเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ แล้วใช้เท้าข้างขวาค่อยๆ เหยียบคันเร่งเพื่อเพิ่มความเร็วในการขับรถและหากต้องการชะลอความเร็วหรือหยุดรถก็ให้ยกเท้าขวาออกจากแป้นคันเร่งแล้วใช้เท้าขวาเหยียบเบรก
– ขับถอยหลังใช้เท้าขวาเหยียบเบรกแล้วเลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่งเกียร์ R ปล่อยแป้นเบรก ให้รถเคลื่อนตัวอย่างช้าๆโดยไม่ต้องเหยียบคันเร่ง
– การจอดรถใช้เท้าขวาเหยียบเบรกและเลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่งเกียร์ P แล้วดึงเบรกมือแล้วปล่อยเบรก
ดังนั้นสรุปได้ว่าการขับรถเกียร์ออโต้ที่ถูกวิธีให้ใช้เท้าขวาเพียงข้างเดียวในการเหยียบเบรกและเหยียบคันเร่งส่วนเท้าซ้ายให้วางเอาไว้ที่พักเท้าเท่านั้น ห้ามนำเท้าซ้ายมาใช้เหยียบเบรกเด็ดขาด เพราะในกรณีฉุกเฉินจะทำให้เกิดความสับสนและเกิดอุบัติเหตุรุนแรงตามมาได้ครับ

 

สายพานสายพาน

 

เรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ

อัพเดท : 24 กรกฎาคม 2567

91 กับ 95 แบบไหนกินน้ำมันมากกว่ากัน เติมแบบไหนดี

เลือกยังไง

น้ำมันแบบไหนได้ประสิทธิภาพดีที่สุด….
คิดว่าคงสงสัยว่าตัวเลขที่เราเห็นตามปั๊มน้ำมันที่มีตัวเลขเบนซิน 91 หรือเบนซิน 95 หรือแก๊สโซฮอล์ 91 และ แก๊สโซฮอล์ 95 ตัวเลขที่ต่อท้ายชนิดของน้ำมันคือตัวเลขอะไร มีไว้ทำไมและจะต้องเติมแบบไหนดีเราไปดูกันครับ

91 กับ 95 คือ ค่าออกเทน (octane number)

ค่าออกเทน (octane number) หมายถึงตัวเลขที่แสดงเปอร์เซ็นต์ มวลไอโซออกเทนผสมระหว่างไอโซออกเทนและเฮปเทน ในน้ำมันเบนซินที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน ตัวเลขนี้ใช้บ่งบอกขีดความ สามารถของน้ำมัน ในการต้านทานการน็อก (knocking) ของเครื่องยนต์ ซึ่งหากเครื่องยนต์ เกิดการน็อกขึ้นก็จะเกิดผลเสียต่อกำลังของเครื่องยนต์และทำให้ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์เกิดความเสียหายได้ ตัวเลขค่าออกเทนในกรณีนี้ยิ่งสูงก็จะยิ่งดีต่อเครื่องยนต์

 

อัตราส่วนกำลังอัดของเครื่องยนต์

อัตราส่วนกำลังอัด คือ อัตราส่วนระหว่างปริมาตรความจุของกระบอกสูบ กับปริมาตรในกระบอกสูบในขณะที่ลูกสูบอยู่ศูนย์ตายบนเครื่องยนต์ที่มีอัตราส่วนกำลังอัดเท่ากับ 10 คือเครื่องยนต์ที่ลูกสูบสามารถบีบส่วนผสมในห้องเผาไหม้ให้เหลือเพียง 1 ใน 10 ของปริมาตรความจุของกระบอกสูบนั่นเอง เครื่องยนต์ยิ่งอัตราส่วนกำลังอัดมาก ถ้าฉีดน้ำเชื้อเพลิงเท่ากันย่อมมีแรงกระทำกับเพลาข้อเหวี่ยงมากกว่าเครื่องยนต์ที่กำลังอัดน้อยกว่า นอกจากนี้การที่เครื่องยนต์มีกำลังอัดที่สูง จะทำให้การเผาไหม้หมดจดมากขึ้น ประหยัดเชื้อเพลิงได้มากกว่า แต่มีข้อเสีย คือ เครื่องยนต์ที่มีอัตราส่วนกำลังอัดสูงคืออุณหภูมิในห้องเผาไหม้จะสูงทำให้ต้องใช้เชื้อเพลิงที่มีค่า Octane สูง ซึ่งราคาก็จะสูงตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการ Engine knock หรือการที่มีการจุดระเบิดผิดเวลา ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้

 

การออกแบบเครื่องยนต์เบนซินให้ตอบสนองต่อความต้องการใช้งาน

รถแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อที่ทางผู้ผลิตทำการผลิตออกมาตอบสนองต่อความต้องการของผู้ขับขี่ที่มีความแตกต่างกัน เช่น รถใช้งานทั่วไปที่ไม่ต้องการกำลังของเครื่องยนต์มากมายก็จะออกแบบมาให้มีอัตราส่วนกำลังอัดที่ต่ำ ก็สามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีค่าออกเทนต่ำได้ แต่ถ้ารถที่ต้องการกำลังของเครื่องยนต์มากขึ้นอัตราเร่งดีขึ้นก็ต้องเพิ่มอัตราส่วนกำลังอัดเพิ่มขึ้นตามไปด้วยมากกว่า และสิ่งที่ตามมาคือน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ก็ต้องเพิ่มค่าออกเทนให้สูงขึ้นตามไปด้วย ตามอัตราส่วนกำลังอัดที่เพิ่มขึ้น

 

ข้อสังเกตว่ารถเราเหมาะกับน้ำมันค่าออกเทนเท่าไหร่

ทางผู้ผลิตจะทำการระบุไว้ว่าเครื่องยนต์รุ่นที่ผลิตนั้นเหมาะสมกับน้ำมันที่มีค่าออกเทนเท่าไหร่ โดยผู้ใช้รถสามารถสังเกตได้จากสติ๊กเกอร์ที่ฝาถังน้ำมันเชื้อเพลิงด้านในที่ผู้ผลิตจะติดเอาไว้ แจ้งค่าออกเทนต่ำสุดของเครื่องยนต์เบนซินที่สามารถใช้ได้ ตามที่ผู้ผลิตกำหนด เช่น แก๊สโซฮอล์ 95 ความหมายคือรถเราสามารถเติมน้ำมัน ได้เฉพาะแก๊สโซฮอล์ 95 กับเบนซิน 95 ได้เท่านั้น หรือถ้าสติ๊กเกอร์แก๊สโซฮอล์ 91 ความหมายคือรถเราสามารถเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 เบนซิน 91 แก๊สโซฮอล์ 95 กับเบนซิน 95 ที่สูงกว่าได้ โดยปกติทั่วไปรถที่มีอัตราส่วนกำลังอัดของเครื่องยนต์ต่ำกว่า 10 : 1 จะใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทน 91 หรือสูงกว่า และรถที่มีอัตราส่วนกำลังอัดของเครื่องยนต์สูงกว่า 10 : 1 ก็จะใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทน 95 หรือสูงกว่า

 

ผลที่ตามมาหากเติมผิด

กรณีเครื่องยนต์ระบุให้เติมแก๊สโซฮอล์ 95 หากนำรถไปเติม แก๊สโซฮอล์ 91 หรือเบนซิน 91 ก็จะทำให้เครื่องยนต์เกิดอาการวิ่งไม่ออกอัตราเร่งลดลงและมีโอกาสทำให้เครื่องยนต์เกิดอาการน็อกได้ จะเกิดผลเสียต่อการสึกหรอของเครื่องยนต์ได้

กรณีเครื่องยนต์ระบุให้เติมแก๊สโซฮอล์ 91 หากนำรถไปเติม แก๊สโซฮอล์ 95 หรือเบนซิน 95 จะไม่มีผลเสียใดๆ กับเครื่องยนต์จากค่าออกเทนที่สูงขึ้น จะเกิดผลดีมากกว่าเนื่องจากค่าออกเทนที่สูงขึ้น ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอัตราเร่งจะดีขึ้น แต่ก็ต้องแลกมากับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นต่อลิตร

ดังนั้นถ้าเป็นรถเดิมๆ ที่ไม่ได้มีการปรับแต่งเครื่องยนต์ ก็ให้เติมตามค่าออกเทนตามที่ผู้ผลิตกำหนดมาให้หรือเติมค่าที่สูงกว่า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับเครื่องยนต์ ส่วนอัตราการกินน้ำมันเชื้อเพลิงระหว่าง 91 กับ 95 ไม่ได้มีความแตกต่างกันมาก แต่การให้อัตราเร่งของ 95 จะดีกว่า 91 จากค่าออกเทนที่สูงกว่า รวมทั้งสารเพิ่มคุณภาพที่เติมเข้าไปแต่ราคาก็เพิ่มขึ้นก็ต้องลองบวกลบคูณหารดูก่อนตัดสินใจเติมครับรั่วครับ

 

 

สายพานสายพาน

 

เรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ

อัพเดท : 23 กรกฎาคม 2567

บีบแตร 3 ครั้ง เอาฤกษ์ วันออกรถใหม่ ก่อนออกจากโชว์รูม

เอาชัย

เคล็ดลับเสริมความสิริมงคล …
หลายคนมีความเชื่อเกี่ยวการออกรถใหม่ที่แตกต่างกันไป แต่ที่ทำไปก็เพื่อความสบายใจทั้งนั้น และอีกหนึ่งวิธีที่นิยมทำ เพื่อเป็นการเอาฤกษ์ เอาชัย ก่อนนำรถออกจากโชว์รูม ก็คือ การบีบแตรรถยนต์ เป็นจำนวน 3 ครั้งนั่นเอง

การ “บีบแตร” รถยนต์ ก่อนรถออกจากโชว์รูม เป็นอีกหนึ่งความเชื่อที่ควรทำในวันออกรถใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคล และเอาฤกษ์ เอาชัย ซึ่งโดยทั่วไปจะบีบแตรกันประมาณ 3 ครั้ง โดยเชื่อว่า….

 

บีบแตร ครั้งที่ 1 หมายถึงพระพุทธ
บีบแตร ครั้งที่ 2 หมายถึงพระธรรม
บีบแตร ครั้งที่ 3 หมายถึงพระสงฆ์

 

และการบีบแตรทั้ง 3 ครั้ง เป็นการขอบคุณที่ปกป้องคุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัย ขอบคุณที่ประทานพรให้ประสบความสำเร็จในชีวิต และ ขอบคุณที่ช่วยเหลือในยามยากลำบาก

 

หรือในอีกทางหนึ่ง การบีบแตร 3 ครั้ง โดยการ….

 

บีบแตร ครั้งที่ 1 นึกถึง บิดา
บีบแตร ครั้งที่ 2 นึกถึง มารดา
บีบแตร ครั้งที่ 3 นึกถึง คุณครูบาอาจารย์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพ

 

เชื่อว่าจะช่วยให้การเดินทางราบรื่น แคล้วคลาดปลอดภัย และอุ่นใจมากขึ้น เป็นต้น

 

 

อ่านบทความที่น่าสนใจ

อัพเดท : 25 มิถุนายน 2567

โตโยต้า เค.มอเตอร์ส บริจาคเงิน 4 ล้านบาท สมทบกองทุน รพ.ศิริราช

สมทบทุน

สนับสนุนนเงินเข้า 2 กองทุน ดูแลผู้ป่วย….
โตโยต้า เค.มอเตอร์ส เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพ จึงร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโอกาสที่ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงโรงพยาบาลที่เต็มไปด้วยความพร้อมและอุปกรณ์ทางการการแพทย์ที่ทันสมัยไว้รองรับ จึงสมทบทุนเข้า 2 กองทุนโรงพยาบาลศิริราช จำนวน 4 ล้านบาท หวังนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์ได้อย่างสูงสุด

บริษัท โตโยต้า เค.มอเตอร์ส ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด โดย คุณจิรเดช สมภพรุ่งโรจน์ คุณกนก สมภพรุ่งโรจน์ และคุณชัยพร สมภพรุ่งโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ร่วมมอบเงินจำนวน 4 ล้านบาท เพื่อสมทบเข้า 2 กองทุนโรงพยาบาลศิริราช ได้แก่….

– กองทุน D003995 เพื่อผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง และ D3755 ภูมิแพ้ผิวหนังตจวิทยา จำนวน 2,000,000 บาท
– กองทุน แพทย์หญิงละอองศรี อัชชนียะสกุล จำนวน 2,000,000 บาท

โดยมี ศาสตราจารย์นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล , ศาสตราจารย์นายแพทย์หญิงละอองศรี อัชชนียะสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาจักษุวิทยา เด็กและกล้ามเนื้อตา ภาควิชาจักษุวิทยา และ ศาสตราจารย์นายแพทย์หญิกนกวลัย กุลทนันทน์ ภาควิชาตจวิทยา สาขาวิชาโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา เป็นผู้รับมอบ ณ ตึกอำนวยการ ศิริราชมูลนิธิ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567

เค.มอเตอร์ส เค.มอเตอร์ส

เค.มอเตอร์ส

 

อัพเดท : 12 มิถุนายน 2567

แผงคอนเดนเซอร์รั่ว สังเกตเบื้องต้นยังไง ส่งผลอย่างไร

แอร์ไม่เย็น

หรือเย็นลดลง มาก-น้อย อยู่ที่รอยรั่ว…
แผงคอนเดนเซอร์แอร์เป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในระบบปรับอากาศ ลักษณะจะมีครีบระบายความร้อนและช่องทางเดินของน้ำยาแอร์เหมือนกับแผงหม้อน้ำรถยนต์ โดยจะติดตั้งไว้บริเวณหน้าหม้อน้ำภายในกระจังหน้ารถยนต์ เพื่อให้ระบายความร้อนได้ดี จากแรงลมที่มาปะทะในขณะรถวิ่ง และพัดลมเครื่องพัดลมแอร์

ก่อนที่จะไปเรียนรู้วิธีตรวจสอบ แผงคอนเดนเซอร์รั่ว มาดูหน้าที่การทำงานของแผงคอนเดนเซอร์กันก่อน…

 

   แผงคอนเดนเซอร์หรือคอยล์ร้อน มีหน้าที่ในการระบายความร้อนของน้ำยาแอร์ให้เปลี่ยนสถานะจากสถานะแก๊สแรงดันสูงที่มาจากคอมเพรสเซอร์แอร์โดยอาศัยพัดลมเครื่องและพัดลมแอร์ รวมทั้งอากาศที่เข้ามาปะทะเมื่อไหลผ่านคอนเดนเซอร์แอร์ จะถูกระบายคงวามร้อนออก เปลี่ยนสถานะจากแก๊สเป็นของเหลวแรงดันสูง ส่งผ่านรีซีพเวอร์ดรายเออร์และไปที่ตู้แอร์ต่อไป


การทำงานของระบบปรับอากาศ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานและเปิดแอร์จะทำให้เครื่องยนต์ส่งแรงขับผ่านสายพานไปขับคอมเพรสเซอร์แอร์ให้ทำงานดูดน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นเข้าสู่คอมเพรสเซอร์แอร์ทางท่อดูดจากสถานะแก๊สแรงดันต่ำอุณหภูมิต่ำจากทางท่อทางเดินน้ำยาแอร์ที่มาจากตู้แอร์ เข้าที่ท่อทางดูดและอัดให้กลายเป็นแก๊สแรงดันสูงอุณหภูมิสูง แล้วส่งออกไปที่ท่อแรงดันสูงหรือท่อจ่ายไปที่แผงคอนเดนเซอร์หรือคอยล์ร้อน จากนั้นแผงคอนเดนเซอร์จะถูกระบายความร้อนจากพัดลมแอร์ด้านหน้าและแรงลมที่มาปะทะ ในขณะที่รถวิ่งจะทำให้น้ำยาแอร์เปลี่ยนสถานะจากแก๊สอุณหภูมิสูง แรงดันสูง กลายเป็นของเหลวอุณหภูมิสูงแรงดันสูง และก็จะถูกส่งต่อผ่านรีซีพเวอร์ดรายเออร์หรือตัวกรองน้ำยาแอร์และส่งต่อไปที่วาล์วแอร์ที่อยู่กับทางเข้าของตู้แอร์หรือคอยล์เย็น วาล์วแอร์จะฉีดน้ำยาแอร์เปลี่ยนสถานะจากของเหลวแรงดันสูงอุณหภูมิสูงกลายเป็นแก๊สแรงดันต่ำ และอุณหภูมิต่ำเข้าไปที่ตู้แอร์หรือคอยล์เย็น ทำให้ลมแอร์ที่ไหลผ่านตู้แอร์จะพัดพาเอาความเย็นจากตู้แอร์ออกไปที่หน้ากากแอร์สู่ห้องโดยสาร ทำให้เกิดความเย็นขึ้นภายในห้องโดยสาร จากนั้นน้ำยาแอร์ที่มีสถานะเป็นแก๊สอุณหภูมิต่ำ แรงดันต่ำ ก็จะถูกส่งไปตามท่อทางเดินน้ำยาแอร์หมุนเวียนกลับไปเข้าที่คอมเพรสเซอร์แอร์ที่ท่อแรงดันต่ำหรือท่อดูด ครบขบวนการทำงานของระบบปรับอากาศในรถยนต์

 

แผงคอนเดนเซอร์รั่วสังเกตเบื้องต้นยังไง

      สามารถสังเกตได้จากน้ำมันคอมเพรสเซอร์แอร์ที่รั่วออกมา เนื่องจากคอมเพรสเซอร์แอร์ ใช้การหล่อลื่นโดยน้ำมันหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์แอร์ที่มีการไหลเวียนไปพร้อมกับน้ำยาแอร์ในระบบโดยไหลไปตามท่อทางต่างๆในระบบแอร์ทั้งหมด ซึ่งน้ำมันหล่อลื่นจะเข้าไปหล่อลื่นชิ้นส่วนของคอมเพรสเซอร์แอร์ที่ไหลเวียนไปพร้อมกับน้ำยาแอร์ ด้วยการที่น้ำมันคอมเพรสเซอร์แอร์ไหลไปพร้อมกันกับน้ำยาแอร์ หากมีการรั่วของน้ำยาแอร์ที่จุดใดจุดหนึ่งจะทำให้น้ำมันหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์แอร์ไหลออกไปด้วย ซึ่งจะมีคราบน้ำมันในจุดที่รั่วให้เห็น ทำให้รู้ว่าเกิดการรั่วในจุดไหนได้จากการสังเกตคราบน้ำมัน ถ้ามีฝุ่นมาเกาะจะยิ่งทำให้เห็นได้ชัดเจน ในกรณีที่เกิดการรั่วที่แผงคอนเดนเซอร์ สามารถตรวจสอบจากคราบน้ำมันที่แผงคอนเดนเซอร์ได้เช่นเดียวกัน

 

แผงคอนเดนเซอร์รั่วส่งผลอย่างไร

       แผงคอนเดนเซอร์รั่วจะส่งผลต่อความเย็นของแอร์ หากมีการรั่วเพียงเล็กน้อยน้ำยาแอร์จะเริ่มลดลง ทำให้ระบบแอร์ทำความเย็นได้น้อยลง และจะรู้สึกได้ว่าความเย็นเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ แรกๆ อาจจะเย็นไม่ฉ่ำและเริ่มเย็นน้อยลงจนในที่สุด เมื่อน้ำยาน้อยลงจนถึงระดับหนึ่ง ระบบแอร์จะไม่ยอมให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์แอร์เสียหาย เนื่องจากน้ำมันหล่อลื่นไม่เพียงพอ และเมื่อคอมแอร์หยุดทำงาน แอร์จะไม่เย็นในที่สุด ซึ่งลำดับอาการจากเริ่มต้นแอร์เย็นน้อยลงจนไปถึงไม่มีความเย็นเลยนั้นขึ้นอยู่กับว่ารั่วมากหรือน้อยแค่ไหนถ้ารั่วมากก็จะเกิดขึ้นเลยทันทีแต่ถ้าค่อยๆ ซึมค่อยๆ รั่วก็จะกินเวลาหลายวันหรือหลายเดือนเลยทีเดียว ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าแผงคอนเดนเซอร์รั่วสังเกตได้จากคราบน้ำมันที่บริเวณแผงคอนเดนเซอร์และสังเกตความเย็นของแอร์ที่ลดลง ผลจากแผงคอนเดนเซอร์รั่วก็คือทำให้แอร์ไม่เย็น ส่วนจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับขนาดของรอยรั่วครับ

 

สายพานสายพาน

 

เรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ